Merlin's Solutions International | Enterprise Architecture Framework
15043
bp-legacy,post-template-default,single,single-post,postid-15043,single-format-standard,ajax_fade,page_not_loaded,,qode-theme-ver-9.1.2,wpb-js-composer js-comp-ver-4.9.2,vc_responsive

Enterprise Architecture Framework

11 เม.ย. Enterprise Architecture Framework

สถาปัตยกรรมองค์กร” หรือ “Enterprise Architecture (EA)” คือ การจัดทำแผนผัง หรือแผนที่ในภาพรวมขององค์กร ในบทความนี้ผู้เขียนอยากให้ทราบถึงความหมายและความสำคัญของการจัดทำ EA เพื่อให้หน่วยงานของท่านเตรียมพร้อมสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น เพื่อให้เข้าใจ EA ง่ายขึ้น ลองนึกถึงภาพจิ๊กซอว์เปรียบดังการทำงานอย่างหนึ่ง หรือระบบงานหนึ่ง  องค์กรทั่วไปที่ไม่ได้จัดทำ EA จะมีการทำงานเป็นแบบ Silo หรือต่างคนต่างอยู่ ต่างคนต่างทำ เปรียบเทียบดังภาพจิ๊กซอว์ด้านซ้ายที่มีการกระจัดกระจายของระบบ  เทียบกับองค์กรที่มีการจัดทำ EA  ดังภาพจิ๊กซอว์ด้านขวา ที่มีแผนผังจิ๊กซอว์แสดงถึงการเชื่อมโยงของแต่ละระบบงาน เพื่อบอกว่าจิ๊กซอว์ตัวไหนควรจะเชื่อมต่อกับจิ๊กซอว์ตัวอื่น ๆ ในผังตรงตำแหน่งใด อย่างไร ถึงจะไม่กระทบกับระบบงานอื่น ซึ่งหากองค์กรของท่านมีการจัดทำ EA ก็จะทำให้สามารถมองภาพรวมขององค์กร อีกทั้งยังง่ายต่อการพัฒนา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ

EA-concept

EA ประกอบไปด้วย 2 สถาปัตยกรรมหลัก คือ

EA-framework

  • สถาปัตยกรรมธุรกิจ (Business Architecture) ซึ่งอาศัยหลักการตลาดที่เรียกว่า “ส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix)” ประกอบไปด้วย หลัก 3Cs (Customer, Capital และ Compliance) และหลัก 4Ps (People, Product, Platform และ Process) โดยเป็นส่วนประสมจากมุมมองทั้งด้านผู้ประกอบการ และมุมมองด้านลูกค้า
  • สถาปัตยกรรมเทคโนโลยี (Technology Architecture) ประกอบด้วย การบริหารจัดการข้อมูล (Information Management) ระบบปฏิบัติการ (Operating System) และโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure)

นอกจากนี้ การออกแบบ EA เปลี่ยนไปจากการออกแบบในรูปแบบเดิม เพื่อให้เป็นแนวทางที่เป็นประโยชน์ และตอบสนองการดำเนินธุรกิจได้มากขึ้น หลาย ๆ องค์กรจะจำแนก EA ออกเป็น 4 ด้าน คือ

  1. สถาปัตยกรรมทางธุรกิจ (Business Architecture) เพื่อแสดงกลยุทธ์หลักขององค์กร โดยคำนึงถึงเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ การดำเนินธุรกิจ ตลอดจน Business Process ของแต่ละหน่วยงาน
  2. สถาปัตยกรรมด้านข้อมูล (Information Architecture) เพื่อแสดงข้อมูลทั้งหมดของแต่ละหน่วยงาน การไหลของข้อมูล หน่วยงานที่เป็นต้นน้ำ กลางน้ำ หรือปลายน้ำ
  3. สถาปัตยกรรมระบบงาน (Application Architecture) เพื่อแสดงระบบสารสนเทศในองค์กร และระบบสารสนเทศดังกล่าวสามารถรองรับธุรกิจองค์กรในด้านใดบ้าง
  4. สถาปัตยกรรมเทคโนโลยี (Technology Architecture) เพื่อแสดงระบบโครงสร้างพื้นฐาน ฮาร์ดแวร์ และระบบเครือข่ายทั้งหมดขององค์กร

 

หากจะทำ EA ต้องทำอย่างไร?

EA-concept2เมื่อทราบถึงประโยชน์ของการทำ EA แล้วจะทำอย่างไรหล่ะเพื่อให้องค์กรหรือหน่วยงานของท่านบรรลุตามวัตถุประสงค์ ในการจัดทำ EA นั้นเราต้องเข้าใจก่อนว่า EA คืออะไรซึ่งได้กล่าวไว้ในข้างต้นแล้ว และอีกหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญคือวิธีการหรือแนวทางในการจัดทำ EA จะทำยังไง เริ่มต้นตรงไหน à ……….กรรมวิธีของการจัดทำ EA จะเริ่มจากการกำหนดเป้าหมายในอนาคตที่องค์กรต้องการจะเป็น (To-be) และการศึกษาสภาพแวดล้อมปัจจุบันขององค์กร (As-is) ซึ่งจะคำนึงถึงกลยุทธ์ วิสัยทัศน์ พันธกิจ และการดำเนินธุรกิจขององค์กรเป็นหลัก และใช้เทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนการขับเคลื่อนขององค์กรให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

ซึ่งผลลัพธ์ของการจัดทำ EA จะอยู่ในรูปแบบของแผนที่ที่สะท้อนภาพรวมขององค์กรทั้งในปัจจุบัน (As-is) และอนาคต (To-be) ตลอดจนแนวทางที่จะพัฒนาและปรับปรุงให้องค์กรบรรลุยังเป้าหมายที่วางไว้

ประโยชน์ที่ได้จากการทำ EA คือ เพื่อมุ่งเน้นให้ทุกคนในองค์กรสามารถเห็นภาพรวมขององค์กรในภาพเดียวกัน ลดความซ้ำซ้อนของการปฏิบัติงาน ลดต้นทุนในการพัฒนาและปรับปรุงระบบสารสนเทศต่าง ๆ อีกทั้งยังช่วยในเรื่องของการจัดการด้านการลงทุน จะสามารถทำให้เกิดการลงทุนที่คุ้มค่ามากยิ่งขึ้น และเมื่อมีโครงการใหม่ หรือสิ่งใหม่ที่จะเข้ามามีผลกระทบต่อองค์กร สามารถนำแผน EA ที่จัดทำแล้วมาพิจารณา เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมได้ตามแผน EA ที่วางไว้

 

 

 

 

ทำไม Framework ถึงสำคัญในการจัดทำ EA?

การทำ EA ให้ประสบความสำเร็จนั้น ควรได้รับการสนับสนุนและผลักดันจากผู้บริหารองค์กร เพราะการจัดทำแผน EA ไม่ใช่งานด้าน ICT แต่เพียงด้านเดียว หากแต่เป็นงานระดับองค์กร จึงต้องการการสนับสนุนจากหลาย ๆ ฝ่ายที่มีความสำคัญในการผลักดันองค์กรให้ประสบความสำเร็จ เปรียบเสมือนการจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กร เป็นการจัดระเบียบวัฒนธรรมในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการทำงาน ระบบสารสนเทศ และโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้รองรับต่อการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ และเทคโนโลยี ตลอดจนช่วยให้สามารถพัฒนาและปรับปรุงองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสิ่งที่สำคัญสิ่งหนึ่งคือ การพิจารณาเลือก  Framework  โดย EA Framework ในปัจจุบันมีทั้งที่เป็นลักษณะ Open Source และลักษณะทางการค้า (Commercial) ซึ่งองค์กรต่าง ๆ ให้ความสนใจประยุกต์ใช้ EA Framework สำหรับแผน EA ที่หลากหลาย เช่น The Open Group Architecture Framework (TOGAF), Federal Enterprise Architecture (FEAF), Zachman Framework, Gartner, SAP Enterprise Architecture Framework, Service-oriented Modeling Framework (SOMF), Solution Architecting Mechanism (SAM), MEGAF, TRAK, Government Enterprise Architecture (GEA), Generalised Enterprise Reference Architecture and Methodology (GERAM), The UK Ministry of Defence Architecture Framework (MODAF) และ The US Department of Defense Architecture Framework (DoDAF) เป็นต้น

ในกระบวนการจัดทำแผน EA ของแต่ละ Framework จะแตกต่างกันออกไป บาง Framework เหมาะสำหรับองค์กรที่เป็นภาครัฐ บาง Framework เหมาะกับองค์กรที่เป็นภาคเอกชน ซึ่งองค์กรนั้น ๆ จะต้องเลือกสรร Framework ที่เหมาะสมกับรูปแบบธุรกิจและการดำเนินงานองค์กรของตนเอง มาถึงจุดนี้แล้วบางท่านคงจะเกิดคำถามในใจว่า “แล้ว EA Framework แบบไหน ที่เหมาะกับองค์กรของเรา?”

 

 

การเปรียบเทียบ EA Framework

การเปรียบเทียบ EA Framework โดยทำการจากกรณีศึกษาของ Roger Sessions Object Watch, Inc. ในหัวข้อ “A Comparison of the Top Four Enterprise-Architecture Methodologies” ซึ่งพิจารณา จาก EA Framework ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันทั้งหมด 4 Framework ได้แก่ TOGAF, Zachman Framework, FEAF และ Gartner

EA-framework

 

จะเห็นได้ว่า Zachman Framework จะมุ่งเน้นในเรื่องของความสมบูรณ์ครบถ้วนในการจำแนกประเภทของ Architecture Artifact และประเภทขององค์ประกอบ เช่น แผนภาพ ตาราง และรายการ เป็นต้น เป็นหลัก ซึ่งจะเหมาะกับองค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) หลายภาคส่วน เพราะ Zachman Framework สามารถตอบโจทย์ความต้องการตามมุมมองต่าง ๆ ของ Stakeholder ได้มากที่สุด ส่วน TOGAF จะมุ่งเน้นในเรื่องของความสมบูรณ์ครบถ้วนของกระบวนการ ขั้นตอน และความพร้อมของข้อมูลที่ใช้ในการจัดทำ EA ซึ่งเหมาะสมกับองค์กรที่ต้องการ Framework ที่มีกระบวนการ และขั้นตอนที่ชัดเจนในการดำเนินงาน FEAF จะมุ่งเน้นในเรื่องของแนวทางในการสร้างโมเดลอ้างอิงที่เกี่ยวข้อง กรรมวิธีการในการตั้งค่าจัดการรายการของสินทรัพย์ทางไอทีที่สามารถนำกลับมาใช้งานได้อีกในอนาคต ตลอดจนการจัดการความซับซ้อนของระบบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร ซึ่งจะเหมาะกับองค์กรที่มีความยืดหยุ่นน้อย การจะเปลี่ยนแปลงค่อนข้างยุ่งยาก เนื่องจากอาจส่งกระทบกับกฎระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมายขององค์กร รวมถึงในส่วนของ Gartner จะมุ่งเน้นในเชิงธุรกิจ โดยคำนึงถึงการใช้เทคโนโลยีในปัจจุบันมาช่วยเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจ ความคุ้มค่าของเวลา และแนวทางปฏิบัติเพื่อพัฒนาวัฒนธรรมขององค์กร ซึ่งจะเหมาะกับองค์กรที่มีความยืดหยุ่นสูง

หมายเหตุ: องค์ประกอบการพิจารณา EA Framework

EA-factors

 

จากการเปรียบเทียบระหว่าง EA Framework ทั้ง 4 Framework ไม่ว่าจะเป็น TOGAF,  Zachman Framework, FEAF และ Gartner จะเห็นได้ว่า แต่ละ Framework มีจุดเด่นที่แตกต่างกัน ดังนั้นองค์กรควรมีการพิจารณาความเหมาะสมของการประยุกต์ใช้ของ EA Framework ที่สอดคล้องกับประเภทขององค์กรของท่านมากที่สุด

นอกจากการเลือก EA Framework ที่เหมาะสมกับองค์กรแล้ว การมีที่ปรึกษาที่คอยให้คำแนะนำ จึงนับเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจทางเลือกหนึ่ง ที่จะช่วยให้องค์กรของท่านสามารถทำงานได้อย่างมั่นใจมากยิ่งขึ้น “เปรียบเสมือนนักกีฬาที่มีพี่เลี้ยงคอยดูแล มีโค้ชคอยชี้แนะหนทางสู่ความสำเร็จ ก็ย่อมดีกว่านักกีฬาที่ไม่มีโค้ช” หากท่านกำลังมองหาที่ปรึกษาที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในการจัดทำ EA บริษัท Merlin’s Solutions International Co., Ltd พร้อมบริการให้คำปรึกษา แนะนำแนวทาง และช่วยผลักดันให้องค์กรของท่านมุ่งสู่ผลสำเร็จ

Comments

comments

No Comments

Post A Comment