Merlin's Solutions International | admin
1
bp-legacy,archive,paged,author,author-admin,author-1,paged-6,author-paged-6,ajax_fade,page_not_loaded,,qode-theme-ver-9.1.2,wpb-js-composer js-comp-ver-4.9.2,vc_responsive

Author: admin

มาสร้าง EA อย่างยั่งยืนกันเถอะ

        EA คือเครื่องมือในการทำ Digital Transformation ขององค์กร ดังนั้น EA จึงต้องถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับยุทธศาสตร์การทำ Digital Transformation ที่มีการเปลี่ยนแปลงตามบริบทขององค์กร วงจรการพัฒนา และใช้งานสถาปัตยกรรมองค์กรต้องเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ กล่าวคือ องค์กรต้องกำหนดให้มีการกำกับดูแล และบริหารจัดการการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กร หรือ Enterprise Architecture Governance: EAG ซึ่งประกอบด้วย นโยบาย แนวปฏิบัติ กระบวนการด้านการกำกับดูแล และบริหารจัดการสถาปัตยกรรมองค์กร เอกสาร/แบบฟอร์ม และตัวชี้วัดการติดตามประเมินผล เพื่อให้คนภายในองค์กรใช้เป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานด้านสถาปัตยกรรมองค์กรที่ชัดเจน และเกิดความยั่งยืน         EAG เป็นเครื่องมือที่จะทำให้เกิดความยั่งยืนในการพัฒนาและใช้งานสถาปัตยกรรมองค์กร โดย EAG ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก ได้แก่ 🔸นโยบายการกำกับดูแลและการบริหารจัดการสถาปัตยกรรมองค์กร 🔸โครงสร้างการกำกับดูแลและการบริหารจัดการสถาปัตยกรรมองค์กร 🔸แนวปฏิบัติกำกับดูแลและการบริหารจัดการสถาปัตยกรรมองค์กร และ 🔸กระบวนการกำกับดูแลและการบริหารจัดการสถาปัตยกรรมองค์กร    ...

การจัดทำ EA เพื่อสนับสนุนการทำ Digital Transformation จากมุมมองของผู้ปฏิบัติจริง

        บทความในครั้งนี้ขออนุญาตแชร์ประสบการณ์ การพัฒนา EA ให้กับหน่วยงานต่าง ๆ องค์กรมีการจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัล เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลขององค์กร (Digital Transformation) แต่แผนฯ ดังกล่าวอยู่ในรูปแบบของเอกสาร รายงาน ทำให้หลายหน่วยงานประสบปัญหาในการสื่อสาร และทำความเข้าใจร่วมกันภายในองค์กร         Merlin’s ได้นำหลักการ EA มาจัดแผนภาพที่แสดงองค์ประกอบขององค์กร 4 ด้าน✳ ที่ขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการดิจิทัลในแต่ละยุทธศาสตร์ เพื่อใช้ในการสื่อสาร และทำความเข้าใจร่วมกันระหว่างผู้บริหาร หน่วยงาน และบุคลากรถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการดิจิทัลให้บรรลุวัตถุประสงค์การสร้างบ้านต้องมีแบบบ้าน (Blueprint) การสร้างเทคโนโลยีดิจิทัลก็ต้องมีแบบในการสร้าง (EA) เช่นเดียวกัน (Blueprint = EA) ✳ รายละเอียดของ EA นำเสนอในบทความ Enterprise...

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Enterprise Architecture (EA FAQs) ⁉

คำถามที่ต้องการคำตอบ ในการทำ Enterprise Architecture (EA) ในมุมมองของผู้ที่เคยพัฒนา EA ให้กับหน่วยงาน ดังนี้ ❓ Q: ทำไมองค์กรต้องทำ EA? ✅ A: EA เป็นเครื่องมือในการนำเป้าหมายการพัฒนาองค์กรและธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล มาจัดทำเป็นโครงรูปที่แสดงองค์ ประกอบ 4 ส่วน/กลุ่มที่เกี่ยวข้อง และใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารเพื่อขับเคลื่อน ดำเนินการ และติดตามการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล ❓ Q: องค์กรต้องเตรียมอะไรเพื่อจัดทำ EA? ✅ A: องค์กรต้องเตรียมข้อมูลอย่างน้อย ดังนี้                  1. Business Value Chain ขององค์กร เพื่อจัดทำกลุ่มกระบวนงาน หรือ Business Architecture    ...

Enterprise Architecture กับการทำ Digital Transformation

        ถ้าเราต้องการสร้างบ้านสถาปนิกจะนำเอาความต้องการของเจ้าของบ้านมาวาดเป็นแบบบ้าน หรือ Blueprint การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลในองค์กรก็ต้องทำ Blueprint เช่นเดียวกัน โดยนำเอาเป้าหมาย ยุทธศาสตร์ และความต้องการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลมาจัดทำ Enterprise Architecture หรือ EA เป็นหลักการจัดทำ Blueprint การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล โดย Blueprint แสดงองค์ประกอบที่สนับสนุนการขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุเป้าหมายและยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ โดยประกอบด้วย 5 ส่วนสำคัญ คือ กระบวนการทางธุรกิจ ข้อมูล แอปพลิเคชัน ระบบโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีดิจิทัล ระบบความมั่นคงปลอดภัยเทคโนโลยีดิจิทัล ทุกองค์กรมีการกำหนดเป้าหมาย ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล โดยจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการดิจิทัล หรือ Digital Roadmap         องค์กรควรประยุกต์ใช้หลักการ EA เพื่อถ่ายทอดองค์ประกอบขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับแผนฯ เพื่อให้ง่ายต่อการขับเคลื่อน และติดตามการดำเนินงานตามแผนฯ รวมทั้งใช้ในการสื่อสารสร้างความเข้าใจร่วมกันภายในองค์กร EA...

Digital Transformation จาก “แนวคิด” สู่ “การปฏิบัติ”

จากบทความที่ผ่านมาทั้ง 3 บทความเกี่ยวกับการทำ Digital Transformation หรือ DT น่าจะทำให้องค์กรได้ภาพรวมครับว่าตกลงแล้ว DT คืออะไร? ทำไมองค์กรควรให้ความสนใจกับแนวคิดนี้? และถ้าสนใจที่จะทำ DT แล้วจะมีประเด็นสำคัญอะไรบ้างที่ควรให้ความสนใจ? จากทั้ง 3 บทความดังกล่าวก็นำมาสู่คำถามที่น่าจะสำคัญที่สุดคือ “แล้วจากแนวคิดทั้งหมดที่กล่าวมา องค์กรควรทำอย่างไรถ้าสนใจจะลงมือทำ DT จริงๆ?” เช่นเดิมครับ ก่อนอื่นเราไปดูตัวอย่างแนวคิดการนำ DT สู่การปฏิบัติจริงครับว่าองค์กรต่าง ๆ ที่ทำวิจัยเรื่องเหล่านี้มีข้อแนะนำอย่างไร แล้วเรามาวิเคราะห์กันครับว่าสรุปแล้วจากแนวคิดต่าง ๆ ที่พบ ตกลงแล้วองค์กรควรทำอย่างไรครับ . ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการลงมือปฏิบัติ? จากที่ทราบกันจาก 3 บทความที่ผ่านมาว่าการทำ DT นั้นเกี่ยวข้องกับทั้งด้าน technical และ non-technical ขององค์กร ฉะนั้นจึงไม่แปลกที่การทำ DT นั้นจะมีความสลับซับซ้อนในระดับที่องค์กรควรที่จะมีแผนการดำเนินงานและ/หรือ blueprint ที่สามารถใช้เป็นภาพรวมให้ทุกคนในองค์กรได้เห็นถึงทิศทางและกิจกรรมต่าง...

ประเด็นสำคัญของ Digital Transformation

       แล้วเราก็มาถึงบทความที่ 3 ซึ่งเป็นบทความสรุปเกี่ยวกับ Digital Transformation หรือ DT โดยหลังจากที่เรารู้กันละครับว่าหลัก ๆ แล้ว DT คือ “การที่องค์กรใช้ digital technologies เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการปรับปรุงกระบวนการทำงานภายใน และ/หรือ ใช้เพื่อพัฒนาบริการหรือแม้แต่สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ให้กับลูกค้า” และเหตุผลหลักที่ทำให้องค์กรต้องให้ความสนใจกับ DT ก็เพราะ “พฤติกรรมและความคาดหวังของทั้งภายในองค์กร และของลูกค้าที่เปลี่ยนไปอย่างมากจนแนวทางปฏิบัติเดิม ๆ ไม่สามารถตอบสนองได้” - ในบทความนี้ซึ่งเป็นบทความปิดท้ายของบทความสั้นเกี่ยวกับ DT เรามาดูกันครับว่า แล้วถ้าองค์กรสนใจที่จะปรับเปลี่ยนโดยใช้แนวคิดของเจ้า DT นี้จะมีประเด็นสำคัญ ๆ อะไรบ้างที่ควรจะรู้เพื่อให้การทำ DT ในองค์กรนั้นได้ผลตามความคาดหวังที่ตั้งไว้ครับ .        อะไรคือประเด็นสำคัญสำหรับ DT? เช่นเดียวกับ 2...

ทำไมองค์กรต้องสนใจ Digital Transformation

          จากบทความที่ผ่านมาที่อธิบายว่า “Digital Transformation คืออะไร?” ซึ่งจากการวิเคราะห์ภาพรวมแล้วพบว่า DT คือ การปรับปรุง หรือสร้างบริการ หรือสินค้าใหม่ที่ใช้ในองค์กร หรือให้กับลูกค้า ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานขององค์กร หรือตอบสนองกับความต้องการใหม่ ๆ ของลูกค้า บทความนี้พุ่งความสนใจไปที่คำถามถัดมา คือ “แล้วทำไมองค์กรต้องสนใจ Digital Transformation?” ซึ่งเป็นคำถามที่ผู้บริหารที่จะต้องลงทุนลงแรงในการทำ DT ต้องการคำตอบ เพราะการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่เกิดขึ้นกับองค์กรนั้นมีทั้งความเสี่ยงและจะต้องมีการใช้ทรัพยากรขององค์กรในรูปแบบต่าง ๆ เพราะฉะนั้น คำตอบที่ได้จากคำถามนี้ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะตัดสินใจว่าองค์กรควรจะทำ DT หรือไม่? และอย่างไร? .           อะไรคือเหตุผลที่องค์กรต้องสนใจ DT? ก่อนที่เราจะสรุปว่าตกลงแล้วทำไมองค์กรต้องให้ความสนใจกับ DT...

Digital Transformation คืออะไร ?

    ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาคำว่า Digital Transformation หรือ DT ถูกพูดถึงอย่างมากในหลากหลายเวทีทั้งในระดับองค์กรและระดับประเทศ ประเด็นแรกเลยที่น่าสนใจคือ ตกลงแล้ว “Digital Transformation คืออะไร?” บทความสั้นนี้ให้ภาพของคำจำกัดความที่ถูกนำเสนอโดยองค์กรระดับโลก และในตอนท้ายเราวิเคราะห์และสรุปภาพรวมของแนวคิดดังกล่าวรวมถึงสิ่งที่องค์กรต้องคำนึงถึงเพื่อให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น DT ถูกนิยามไว้อย่างไรบ้าง? หนึ่งในบริษัทผู้ผลิต software ระดับโลกมองว่า DT คือ process ของการใช้ digital technologies ในการปรับปรุงหรือพัฒนา business process หรือประสบการณ์ของลูกค้า ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับ website ชื่อดังสำหรับผู้บริหารด้านสารสนเทศที่ให้คำจำกัดความของ DT ว่าคือการเปลี่ยนแปลงหลักในการส่งมอบ value ให้กับลูกค้า และหนึ่งในบริษัทที่ปรึกษาระดับโลกได้อธิบาย DT ในมุมที่กว้างว่าเป็นได้ทั้งการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยจนไปถึงการคิดค้นพัฒนา digital business models ใหม่เพื่อการบริการ  ...

การจัดประชุมเพื่อนําเสนอผลการจัดทําสถาปัตยกรรมองค์กร (Enterprise Architecture)

          เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2563 ณ โรงแรม TK. PALACE HOTEL & CONVENTION ทางบริษัทฯ ได้จัดประชุมเพื่อนําเสนอผลการจัดทําสถาปัตยกรรมองค์กร (Enterprise Architecture)