Merlin's Solutions International | Technology
260
bp-legacy,archive,tag,tag-technology,tag-260,ajax_fade,page_not_loaded,,qode-theme-ver-9.1.2,wpb-js-composer js-comp-ver-4.9.2,vc_responsive

Technology Tag

Generative AI: ปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์และความแปลกใหม่

Generative AI 🤖 คือ นวัตกรรมล่าสุดในด้านปัญญาประดิษฐ์ที่กำลังเปลี่ยนแปลงวิธีการสร้างเนื้อหาอัตโนมัติ โดยไม่ต้องพึ่งพาข้อมูลหรือกฎที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเหมือน AI แบบดั้งเดิม Generative AI ทำงานโดยการเรียนรู้รูปแบบและความสัมพันธ์ในข้อมูลเพื่อสร้างผลลัพธ์ใหม่ที่สมจริงและแตกต่างจากข้อมูลเดิม กระบวนการนี้รวมถึงการรวบรวมข้อมูล, การเลือกรูปแบบเช่น GAN หรือ VAE, การเทรนโมเดล, และการสร้างเนื้อหาใหม่ สิ่งที่ทำให้ Generative AI ต่างจาก AI แบบดั้งเดิมคือความสามารถในการสร้างความคิดสร้างสรรค์และเนื้อหาใหม่ๆ โดยอิสระ, มีความยืดหยุ่นสูง, และมักใช้การเรียนรู้แบบไม่มีผู้สอน ตัวอย่างการใช้ Generative AI ที่น่าสนใจ ได้แก่ ChatGPT, Canva, และ Midjourney, ซึ่งเป็นการสาธิตการเปลี่ยนแปลงในโลกของ AI ที่สามารถสร้างความคิดสร้างสรรค์และความเป็นอิสระในการสร้างเนื้อหา, นำพาเราเข้าสู่อนาคตที่เทคโนโลยีสามารถปลดล็อกความเป็นไปได้ใหม่ๆ อย่างไม่สิ้นสุด...

Metaverse 🤖

Metaverse (เมตะเวิร์ส) คือการผสานระหว่างเทคโนโลยีแห่งโลกเสมือนและสร้างสิ่งแวดล้อมของโลกจริงๆ เข้าด้วยกัน เพื่อให้ผู้คนเข้ามามีบทบาทหรือทำกิจกรรมร่วมกันได้ เช่น การประชุม การเข้าร่วมสัมมนา การดูคอนเสิร์ต การเรียนหนังสือ ฯลฯ ที่มาของคำว่า Metaverse มาจากการนำคำว่า Meta แปลว่า อยู่เหนือจินตนาการ รวมกับคำว่า Verse ที่มาจากคำว่า Universe" ซึ่งแปลว่า จักรวาล รวมกันจึงแปลได้ว่า จักรวาลนฤมิตใน Metaverse นี้มีเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง อาทิ AR (Augmented Reality) VR (Virtual Reality) MR (Mixed Reality) และ XR (Extended Reality) เป็นเทคโนโลยีสำคัญที่ช่วยให้การสร้างสภาพแวดล้อมของโลกแห่งความจริงและเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น 🔸AR คือ การนำเอาเทคโนโลยีมาผสานโลกแห่งความจริงและวัตถุต่างๆ...

ทำความรู้จักกับ ISO/IEC 27001 💎

ISO/IEC 27001 คืออะไร? ISO/IEC 27001 หรือ Information Security Management System (ISMS) เป็นมาตรฐานด้านการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศเพื่อจัดการข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล และถูกนำมาใช้งานในองค์กรชั้นนำทั่วโลก มาตรฐาน ISO/IEC 27001 นี้ถูกเผยแพร่โดย International Organization for Standardization (ISO) และ International Electrotechnical Commission (IEC) โดยมีข้อกำหนด (requirement) ต่าง ๆ ที่องค์กรนั้นต้องพึงปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล เพื่อปกป้อง เสริมสร้างความสามารถในการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ ช่วยป้องกันการเข้าถึงข้อมูลอ่อนไหวหรือเป็นความลับโดยไม่พึงประสงค์ให้กับองค์กรที่ได้รับการรับรองมาตรฐานนี้ได้ รวมถึงความสามารถในการรับมือเหตุฉุกเฉินด้านความปลอดภัยสารสนเทศที่อาจเกิดขึ้น ทั้งนี้ยังช่วยสร้างความเชื่อมั่น ความไว้วางใจให้ลูกค้า คู่ค้า และผู้ถือหุ้นเห็นถึงความสามารถในการบริหารจัดการความปลอดภัยของข้อมูลในองค์กร สำหรับองค์กรที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 27001 นี้ได้อีกด้วย ปัจจุบันประเทศไทยก็มีการประยุกต์ใช้มาตรฐาน ISO/IEC...

ปัจจัยการออกแบบระบบธรรมาภิบาล (Governance System Design Factors)

ระบบธรรมาภิบาลเทคโนโลยีสารสนเทศคือการนำองค์ประกอบของการธรรมาภิบาล อาทิ กระบวนงาน (Process) โครงสร้างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและบทบาท (Organization Structure) ไปสู่การปฏิบัติจริง โดยแต่ละวัตถุประสงค์การกำกับ (Governance Objective) และวัตถุประสงค์การจัดการ (Management Objective) มีการระบุอย่างชัดเจนว่าต้องดำเนินการอะไรในแต่ละองค์ประกอบ อย่างไรก็ตามแต่ละองค์กรนั้นมีบริบทที่แตกต่างกัน เช่น มีกลยุทธ์และเป้าหมายองค์กรที่ต่างกัน มีบัญชีความเสี่ยง (Risk Profile) ที่แตกต่างกัน มีประเด็นด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ประสบแตกต่างกัน ดังนั้นแต่ละองค์กรจำเป็นต้องพิจารณาเลือกวัตถุประสงค์การกำกับและวัตถุประสงค์การจัดการที่สอดคล้องกับบริบทขององค์กรนั้นๆ (COBIT-2019 มีวัตถุประสงค์การกำกับและวัตถุประสงค์การจัดการรวม 40 หัวเรื่อง ซึ่งองค์กรไม่จำเป็นต้องดำเนินการให้ครบถ้วนทั้งหมด) โดย COBIT-2019 ได้เสนอแนะปัจจัยการออกแบบ (Design Factor) สำหรับแต่ละองค์กรใช้พิจารณาเลือกวัตถุประสงค์การกำกับและวัตถุประสงค์การจัดการ ได้แก่ กลยุทธ์และเป้าหมายองค์กร บัญชีความเสี่ยงและประเด็นเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวเนื่อง กรอบขอบเขตภัยคุกคาม ข้อกำหนดการปฏิบัติตามกฎหมาย บทบาทของ IT ในองค์กรและรูปแบบการใช้งาน วิธีการพัฒนา IT...

การเชื่อมโยงเป้าหมายองค์กร (Enterprise Goal Cascade)

การธรรมาภิบาลเทคโนโลยีสารสนเทศคือการปฏิบัติจริงในแต่ละวัตถุประสงค์การกำกับ (Governance Objective) และวัตถุประสงค์การจัดการ (Management Objective) ซึ่ง COBIT-2019 มีความครอบคลุมรวม 40 วัตถุประสงค์ โดยในแต่ละวัตถุประสงค์นั้นองค์กรต้องนำองค์ประกอบที่แนะนำไปสู่การปฏิบัติ อาทิ กระบวนงาน (Process) โครงสร้างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและบทบาท (Organization Structure) และหากปฏิบัติได้อย่างสัมฤทธิ์ผลองค์กรจะอยู่ในระดับความสามารถตามที่ระบุไว้ อย่างไรก็ตามการที่แต่ละองค์กรจะเลือกวัตถุประสงค์การกำกับและวัตถุประสงค์การจัดการใดไปปฏิบัติได้อย่างเหมาะสมตามบริบทนั้น ต้องพิจารณาจากเป้าหมายองค์กรและเชื่อมโยง (Enterprise Goal Cascade) ไปสู่วัตถุประสงค์การกำกับและวัตถุประสงค์การจัดการ      การเชื่อมโยงเป้าหมายองค์กรนั้น แต่ละองค์กรต้องพิจารณาเริ่มต้นจากกลยุทธ์องค์กร (COBIT-2019 แนะนำให้มี 1 กลยุทธ์หลักและ 1 กลยุทธ์รอง) และระบุเป้าหมายองค์กรที่สอดรับกับกลยุทธ์นั้น (COBIT-2019 แนะนำเป้าหมายองค์กรตามกรอบ Balanced Scorecard) หลังจากนั้นจึงกำหนดเป้าหมายร่วม (Alignment Goal) รวมถึงวัตถุประสงค์การกำกับและวัตถุประสงค์การจัดการหลักและรอง ตามลำดับ ซึ่งพบได้ว่า...

การบรรยาย หัวข้อ “Strategic Technology Trends and AI” ในวันที่ 6 กันยายน 2565

การบรรยาย หัวข้อ "Strategic Technology Trends and AI" ในวันที่ 6 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา         บริษัท Merlin ขอขอบคุณผู้บริหารและพนักงานส่วนงานในสำนักงานใหญ่ ธ.ก.ส. ที่เข้าร่วมกิจกรรมการบรรยายในหัวข้อ "Strategic Technolosy Trends and AI" โดย ผศ. ดร. จิรพันธ์ แดงเดช CTO บริษัท Merlin's Solutions International ณ ห้องประชุม ชั้น 24 อาคารทาวเวอร์ ธ.ก.ส. สำนักงานใหญ่ ซึ่งภายในงานท่านผู้บริหารได้ให้เกียรติแลกเปลี่ยนมุมมองด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาและนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์...

Hyperautomation EP.4 AI เกี่ยวอะไรกับ Hyperautomation รวมถึง Prescriptive Analytics ?

AI เกี่ยวอะไรกับ Hyperautomation รวมถึง Prescriptive Analytics ?    จากบทความก่อนหน้าเราคุยกันว่าทำไมองค์กรควรให้ความสนใจกับ Hyperautomation หรือแนวคิดการให้บริการแบบอัตโนมัติที่พยายามรวบรวมแนวคิดและเทคโนโลยีต่าง ๆ มาร่วมกัน ทำงานสอดประสานกัน เพื่อการให้บริการแบบอัตโนมัติให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และระดับการทำอัตโนมัตินั้นมีมากน้อยขนาดไหน ในบทความนี้เราจะซูมเข้าไปและตอบคำถามสำคัญต่อจากบทความก่อนครับว่า 1. แล้ว AI มาเกี่ยวอะไรกับ Hyperautomation? 2. ถ้าแนวคิดการทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่เราทราบมานั้นมี 4 ระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ระดับสูงสุดที่เรียกว่า Prescriptive Analytics (What should we do next?) นั้น AI มาช่วยอย่างไร? AI มาเกี่ยวอะไรกับ Hyperautomation? เรามาย้อนไปที่นิยามกันนิดนึงครับ นิยามของ AI นั้นมีเป็นร้อยครับ แต่มีเยอะแค่ไหนนิยามเหล่านั้นมีส่วนที่คล้ายกันก็คือว่า Artificial Intelligence หรือ AI คือแนวคิดการพัฒนาระบบที่พยายาม...

Hyperautomation EP. 3 ระดับการทำงานแบบ Hyperautomation

แล้ว “ระดับการทำงานแบบอัตโนมัติ” เกี่ยวข้องกับ “ระดับของการวิเคราะห์ข้อมูล” อย่างไร? โดยทั่วไปแล้วหนึ่งในความรู้หลักในการทำ Automation ในลักษณะนี้คงไม่พ้นการ “วิเคราะห์ข้อมูล” ไม่ว่าเราจะใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบที่นักสถิติใช้กันหรือใครจะเรียกว่า Machine Learning ก็ตาม ถ้าเราพูดถึงระดับของการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งโดยปรกติแล้วแบ่งเป็นระดับได้ 4 ระดับคือ 1. Descriptive Analytics (What happened?) 2. Diagnostic Analytics (Why did this happen?) 3. Predictive Analytics (What might happen in the future?) 4. Prescriptive Analytics (What should we do next?) จากระดับของการวิเคราะห์ทั้ง 4 ข้างต้นจะพบว่าการวิเคราะห์และความคาดหวังของแต่ละระดับจะเพิ่มขึ้นตามลำดับจากการที่แค่อยากรู้ว่า “เกิดอะไรขึ้น” ไปจนถึงขั้นสูงสุดที่เป้าหมายของการวิเคราะห์คืออยากจะรู้ว่าผู้ที่เกี่ยวข้อง “ควรทำอะไรต่อจากนี้”...

Hyperautomation EP.2 ระดับของการทำงานแบบอัตโนมัติและเป้าหมายในภาพรวมของ Hyperautomation

Hyperautomation EP.2 ระดับของการทำงานแบบอัตโนมัติและเป้าหมายในภาพรวมของ Hyperautomation         ในภาพรวมแล้วคำว่า Hyperautomation คือแนวคิดของการทำ automation ในองค์กรให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเป็นการใช้หลากหลายแนวคิดหรือเทคโนโลยีมารวมเข้าด้วยกันทำงานร่วมกันประสานกัน ซึ่งแนวทางการใช้สิ่งต่างๆมาร่วมกันพัฒนานี้ถูกนำไปอธิบายในหลายๆบทความว่าเป็นการ Orchestrated Use of Technologies and Concepts หรือการทำงานที่สอดประสานกันของเทคโนโลยี จากหลายๆบทความพอสรุปได้ว่าระดับของการทำ Hyperautomation มีตั้งแต่การ จำเพาะเจาะจงไปที่การทำ Automation ของ Process การทำงานในองค์กร ไปจนถึงการพัฒนาระบบอัตโนมัติแบบ 360 องศาทำทุกอย่างที่ทำได้ให้เป็นการทำงานแบบอัตโนมัติให้หมด และถ้าเอาแนวคิดนี้มาใช้กับการให้ “บริการลูกค้า” นั่นก็จะหมายถึงการใช้บริการแบบ End-to-End หรือจะเลยไปถึง 360 องศาแบบอัตโนมัติ กล่าวคือจะไม่ใช่แค่การให้บริการใดบริการหนึ่งแล้วเสร็จ เช่น ระบบการลางานของพนักงานก็ไม่ใช่แค่เสร็จที่การส่งข้อความลาเท่านั้น แต่รวมไปถึงการให้บริการจองหมอที่พนักงานจะไปพบ พบแล้วก็ทำเรื่องเบิกกลับมาที่องค์กร รวมถึงการลงกลุ่มโรคที่พนักงานเป็นเพื่อให้ฝ่ายบุคคลได้มีข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ต่อไปว่าพนักงานส่วนใหญ่ป่วยเป็นอะไร ช่วงไหน...