02 มิ.ย. กรอบการกำกับดูแลข้อมูลของประเทศไทย (Thailand’s Data Governance Framework)
ปัจจุบันหน่วยงานหรือองค์กรของไทยได้ให้ความสำคัญต่อการกำกับดูแลข้อมูลมากยิ่งขึ้น ซึ่งข้อมูลถือได้ว่าเป็นสินทรัพย์อันมีค่าต่อองค์กร หากมีข้อมูลที่มีคุณภาพ น่าเชื่อถือ และสามารถนำข้อมูลไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นมาตรฐาน และมีความปลอดภัย ข้อมูลเหล่านั้นก็จะนำไปสู่การเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจได้ แต่หากองค์กรไม่มีการบริหารจัดการข้อมูลที่ดี ก็อาจส่งผลกระทบต่อองค์กรได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น ปัจจุบันหน่วยงานด้านการกำกับดูแลของไทยจึงได้ให้ความสำคัญและมีจุดเด่นด้านการจัดทำนโยบาย ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางวิธีการกำกับดูแลข้อมูล ดังนี้

หน่วยงานด้านการกำกับดูแลของไทยทั้ง สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (DGA), ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.), และ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ต่างให้ความสำคัญต่อการกำกับดูแลข้อมูลขององค์กรทั้งในภาครัฐและเอกชน โดยกรอบการกำกับดูแลของหน่วยงานดังกล่าว มีความเหมือนกันคือ
- มีโครงสร้างการกำกับดูแลข้อมูลการแบ่งบทบาทหน้าที่ชัดเจน
- ปฏิบัติตามให้สอดคล้องกับ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA)
- สามารถเปิดเผย เชื่อมโยง และบูรณาการข้อมูลร่วมกันได้ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
- มีแนวทางและวิธีปฏิบัติด้านการบริหารจัดการข้อมูลที่ดี และเป็นมาตรฐานเดียวกัน
- มีการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล เพื่อให้มั่นใจว่าการกำกับดูแลข้อมูลมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ด้วยลักษณะการกำกับดูแลขององค์กรทั้ง 3 หน่วยงานมีรูปแบบการกำกับดูแลที่แตกต่างกัน กรอบการกำกับดูแลข้อมูลจึงมุ่งเน้นให้ความสำคัญดังนี้
DGA ➡️ มุ่งเน้นแนวทางการขับเคลื่อนกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ
ธปท. ➡️ มุ่งเน้นความมั่นคง ปลอดภัย และความน่าเชื่อถือของข้อมูลการเงิน
คปภ. ➡️ มุ่งเน้นแนวทางการปฏิบัติ และการใช้ข้อมูลประกันภัยอย่างปลอดภัย
จะเห็นได้ว่ากรอบการกำกับดูแลข้อมูลของหน่วยงาน 3 หน่วยงานหลักในประเทศไทย มุ่งเน้นการมีโครงสร้างการกำกับดูแลข้อมูล มีการกำหนดนโยบาย แนวทาง ระเบียบวิธีปฏิบัติ และการกำหนดกระบวนการบริหารจัดการข้อมูลที่ดี ซึ่งหากต้องการให้องค์กรของท่านมีกรอบการกำกับดูแลข้อมูลอย่างเป็นมาตรฐาน และมีการบริหารจัดการข้อมูลที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
No Comments