Merlin's Solutions International | DigitalTransformation
225
bp-legacy,archive,tag,tag-digitaltransformation,tag-225,ajax_fade,page_not_loaded,,qode-theme-ver-9.1.2,wpb-js-composer js-comp-ver-4.9.2,vc_responsive

DigitalTransformation Tag

🌐 Merlin’s อยู่เคียงข้างทุกก้าว สู่การเป็นองค์กรคลาวด์อย่างเต็มตัว!

เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2568 Merlin’s Solutions International Co., Ltd. ร่วมกับส่วนยุทธศาสตร์และมาตรฐานเทคโนโลยี ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมชลประทาน จัดกิจกรรมสัมมนาและถ่ายทอดองค์ความรู้ในหัวข้อ Cloud Readiness and Migration (การเตรียมความพร้อมในการใช้งานระบบคลาวด์) โดยได้รับเกียรติจาก ดร.สุทธิศักดิ์ อินทวดี เป็นวิทยากร ถ่ายทอดแนวคิด กลยุทธ์ และประสบการณ์การวางแผนการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบคลาวด์ ณ ห้องประชุม 500 ชั้น 5 อาคารศูนย์วิศวกรรมการชลประทาน...

กรอบการกำกับดูแลข้อมูลของประเทศไทย (Thailand’s Data Governance Framework)

ปัจจุบันหน่วยงานหรือองค์กรของไทยได้ให้ความสำคัญต่อการกำกับดูแลข้อมูลมากยิ่งขึ้น ซึ่งข้อมูลถือได้ว่าเป็นสินทรัพย์อันมีค่าต่อองค์กร หากมีข้อมูลที่มีคุณภาพ น่าเชื่อถือ และสามารถนำข้อมูลไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นมาตรฐาน และมีความปลอดภัย ข้อมูลเหล่านั้นก็จะนำไปสู่การเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจได้ แต่หากองค์กรไม่มีการบริหารจัดการข้อมูลที่ดี ก็อาจส่งผลกระทบต่อองค์กรได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น ปัจจุบันหน่วยงานด้านการกำกับดูแลของไทยจึงได้ให้ความสำคัญและมีจุดเด่นด้านการจัดทำนโยบาย ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางวิธีการกำกับดูแลข้อมูล ดังนี้ หน่วยงานด้านการกำกับดูแลของไทยทั้ง สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (DGA), ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.), และ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ต่างให้ความสำคัญต่อการกำกับดูแลข้อมูลขององค์กรทั้งในภาครัฐและเอกชน โดยกรอบการกำกับดูแลของหน่วยงานดังกล่าว มีความเหมือนกันคือ มีโครงสร้างการกำกับดูแลข้อมูลการแบ่งบทบาทหน้าที่ชัดเจน ปฏิบัติตามให้สอดคล้องกับ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA) สามารถเปิดเผย เชื่อมโยง และบูรณาการข้อมูลร่วมกันได้ทั้งภายในและภายนอกองค์กร มีแนวทางและวิธีปฏิบัติด้านการบริหารจัดการข้อมูลที่ดี และเป็นมาตรฐานเดียวกัน มีการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล เพื่อให้มั่นใจว่าการกำกับดูแลข้อมูลมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ด้วยลักษณะการกำกับดูแลขององค์กรทั้ง 3 หน่วยงานมีรูปแบบการกำกับดูแลที่แตกต่างกัน กรอบการกำกับดูแลข้อมูลจึงมุ่งเน้นให้ความสำคัญดังนี้DGA ➡️ มุ่งเน้นแนวทางการขับเคลื่อนกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐธปท. ➡️  มุ่งเน้นความมั่นคง ปลอดภัย และความน่าเชื่อถือของข้อมูลการเงินคปภ. ➡️ ...

Gartner เผย! 10 เทรนด์เทคโนโลยีที่องค์กรต้องจับตามองในปี 2025 🌟

ทคโนโลยีไม่เคยหยุดนิ่ง และในปี 2025 Gartner ได้เปิดเผย "Top 10 Strategic Technology Trends" ที่จะมาเปลี่ยนโฉมหน้าของการทำงานและชีวิตประจำวันของเรา! หากคุณกำลังมองหาแนวโน้มที่จะขับเคลื่อนองค์กรของคุณสู่ความสำเร็จในอนาคต บทความนี้คือคำตอบ!...

การจัดอบรมด้านการบริหารจัดการข้อมูลเกี่ยวกับการกำกับดูแลข้อมูล (Data Governance) ร่วมกับ ธ.ก.ส

เมื่อวันที่ 11-12 มกราคม 2567 บริษัท เมอร์ลินส์ โซลูชั่นส์ อินเตอร์แนชั่นนัล จำกัด รวมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ร่วมกันจัดอบรมด้านการบริหารจัดการข้อมูลเกี่ยวกับการกำกับดูแลข้อมูล (Data Governance) หลักสูตร “การจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภายในหน่วยงานสำหรับผู้ปฏิบัติงาน (Data Governance in Practice)” ให้กับบริกรข้อมูลประจำส่วนงานสำนักงานใหญ่ และหลักสูตร “แนะนำธรรมาภิบาลข้อมูลสำหรับบุคลากร (Introduction to Data Governance for General Staff)” ให้กับฝ่ายจัดการ ผู้บริหารและพนักงานกลุ่มเป้าหมาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการกำกับดูแลข้อมูล สร้างความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการข้อมูล และสามารถนำข้อมูลไปใช้ได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และมีคุณภาพ โดยมี ผศ.ดร.โษฑศ์รัตต ธรรมบุษดี เป็นวิทยากรในการบรรยาย ณ ห้องประชุมจำเนียรสาร ชั้น 24...

Green AI EP. 7 🚛

มาถึง Ep. สุดท้ายสำหรับ Series Green AI แล้ว ในสัปดาห์ที่ผ่าน ๆ มาเราพูดถึงการใช้เทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในระดับประเทศ และในภาคอุตสาหกรรมตั้งแต่อุตสาหกรรมด้านพลังงาน อุตสาหกรรมการเงิน อุตสาหกรรมการผลิต จะเห็นว่าแต่ละอุตสาหกรรมก็มีการประยุกต์ใช้ AI ที่แตกต่างกันออกไปเพื่อให้มีเหมาะสมกับตนเอง และใน Ep. สุดท้ายนี้เราจะนำเสนอการใช้ Green AI ในอุตสาหกรรมค้าปลีกและการขนส่งซึ่งเป็นอุตสาหกรรมปลายน้ำ ในอุตสาหกรรมปลายน้ำอย่างการค้าปลีก การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากพาหนะที่ใช้ขนส่งสินค้านั้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นการใช้ AI เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจึงเน้นไปที่การช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นหลัก จะเห็นได้จากตัวอย่างดังนี้ ลดระยะทางการขนส่งเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการขนส่งให้น้อยที่สุด ด้วยการใช้ AI ช่วยคำนวณเส้นทางในการขนส่งสินค้าไปยังจุดหมายต่าง ๆ ให้มีความคุ้มค่าและระยะทางสั้นที่สุด ลดพฤติกรรมที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของผู้ขนส่ง ด้วยการใช้ AI ช่วยให้ข้อเสนอแนะแบบ Real Time เช่น การเร่งความเร็วมากเกินไป การเบรกอย่างรุนแรง เพื่อให้ผู้ขนส่งปรับเปลี่ยนพฤติกรรมซึ่งจะส่งผลต่อการใช้เชื้อเพลิง...

Green AI EP. 6 🏭

ใกล้จะจบกันแล้วสำหรับ Series Green AI ในสัปดาห์นี้มาถึงช่วงของอุตสาหกรรมการผลิตซึ่งเป็นที่จับตามองกันอย่างมาก เนื่องจากไม่ว่าจะเป็นการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก ไปจนถึงการผลิตขนาดใหญ่ เช่น การผลิตรถยนต์ ล้วนถือเป็นอุตสาหกรรมหนักที่มีการใช้พลังงานและมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นจำนวนมาก การนำเทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยจัดการกับปัญหาสิ่งแวดล้อมจึงเป็นแนวทางที่ทำให้สามารถเห็นผลลัพธ์ได้อย่างชัดเจน ในอุตสาหกรรมการผลิตสามารถนำเทคโนโลยี AI มาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้อย่างหลากหลาย เนื่องจากการผลิตมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องอยู่จำนวนมาก และแต่ละอุตสาหกรรมก็มีแนวทางที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น ลดกระบวนการหรือวัตถุดิบที่ไม่จำเป็น ด้วยการใช้ AI ช่วยวิเคราะห์คุณภาพของการผลิต โดยเปรียบเทียบปัจจัยนำเข้า (Input) กับผลลัพธ์ (Output) เพื่อให้เห็นถึงสิ่งที่สามารถปรับปรุงได้ นั่นหมายถึงปริมาณ Carbon Footprint ที่เกิดขึ้นก็จะลดลงเช่นกัน เพิ่มการประหยัดพลังงานด้วยการออกแบบที่มีประสิทธิภาพ ในธุรกิจผลิตรถยนต์รายใหญ่ ๆ นั้นมีการใช้ AI ในการออกแบบรถยนต์ ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอากาศพลศาสตร์ น้ำหนักของรถ หรือความต้านทานของยาง เพื่อออกแบบรถยนต์ให้มีประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงานได้มากยิ่งขึ้น หรือลดการใช้ทรัพยากรการผลิตลง ซึ่งล้วนเป็นการช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น ลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้สำหรับการผลิต ด้วยการใช้...

Green AI EP. 5 🚜

จากที่เราได้นำเสนอการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI เพื่อสิ่งแวดล้อมสีเขียวในอุตสาหกรรมต้นน้ำกันไปแล้วอย่างอุตสาหกรรมด้านพลังงาน และด้านการเงิน ครั้งนี้เราจะพาทุกคนเข้าสู่ภาคการเกษตรกันบ้าง โดย AI นั้นถูกนำมาใช้ในการแข่งขันด้านการผลิตเป็นระยะเวลานานแล้ว เพื่อให้เข้ากับประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศการเกษตร ครั้งนี้เราจะนำเสนอการใช้ AI เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในฝั่งเกษตรกรรมกันบ้าง ในภาคการเกษตรปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตคือสภาพแวดล้อม และสภาพอากาศ จึงมีการนำ AI มาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการเพิ่มผลผลิต หรือลดความเสียหายทางการเกษตร และไม่เพียงมีบทบาทแค่ช่วยรับมือกับสภาพอากาศเท่านั้น AI สามารถเข้ามาช่วยในด้านสิ่งแวดล้อมนี้ได้เช่นกัน โดยจากงานวิจัยของสหภาพยุโรประบุว่าการทำเกษตรกรรมนั้นมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนถึง 10% นอกจากนั้นยังพบการก่อมลพิษจากวัตถุดิบที่ใช้อีกด้วย ดังนั้นในหลายภาคการเกษตรจึงมีความคิดในการใช้ AI เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเช่นตัวอย่างต่อไปนี้ 🍍 ลดการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช ด้วยการใช้ AI ประมวลผลภาพที่ได้จาก Drone ในการระบุถึงตำแหน่งและรูปแบบการกระจายตัวของวัชพืช เพื่อจำกัดขอบเขตการใช้สารเคมีในการกำจัดได้อย่างแม่นยำ ส่งผลให้สามารถลดการใช้สารเคมีซึ่งเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมลงได้อย่างมากทีเดียว 🍍 ลดการปล่อยมลพิษที่เกิดจากการเพาะปลูกสู่สิ่งแวดล้อม โดยให้ AI วิเคราะห์จำนวนผลผลิตที่ต้องการ และคำนวณการใช้ปุ๋ยเคมีในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยลดการตกค้างของก๊าซไนโตรเจนในดินได้ 🍍 ลดการใช้พลังงานในการเพาะปลูกด้วยการคำนวณการใช้ปัจจัยการเพาะปลูกอย่างคุ้มค่า โดยการใช้ AI วิเคราะห์และคาดการณ์แนวโน้มของสภาพอากาศที่จะเกิดขึ้น เพื่อใช้พลังงานเฉพาะช่วงเวลาที่จำเป็น เช่น...

Green AI EP. 4 🌍

Green AI Ep. ที่ 4 นี้เราจะพูดถึงการใช้ AI ในธุรกิจด้านการเงินกันบ้าง เมื่อนึกถึงการเงินนั้นธุรกิจที่เราคุ้นเคยกันมากที่สุดคงไม่พ้นธุรกิจธนาคาร ซึ่งหลายคนคงทราบแล้วว่าธุรกิจธนาคารมีการใช้ AI ในหลายด้าน เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลการลงทุน หรือการตรวจสอบธุรกรรมผิดปกติ แต่เมื่อพูดถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมคำถามที่ตามมาคือในองค์กรด้านการเงินการธนาคารสามารถช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ทางไหนบ้าง และจะสามารถใช้ AI เข้ามาช่วยเสริมได้อย่างไร เนื่องจากผลิตภัณฑ์ทางการเงินนั้นมีกระบวนการ หรือการประมวลข้อมูลซึ่งก่อให้เกิดการปล่อยคาร์บอนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในธุรกิจด้านการเงินจึงมีแนวคิดการใช้ AI สำหรับอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยเน้นไปที่การปรับใช้และสนับสนุนโครงการที่มีผลกระทบเชิงบวกในระยะยาวต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อชดเชยการปล่อยคาร์บอน และส่งเสริมให้ผู้ผลิตรายต่าง ๆ หาวิธีการลดการปล่อยคาร์บอนจากผลิตภัณฑ์ของตัวเอง ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น 🌱 การใช้ AI วิเคราะห์และแสดงข้อมูลการปล่อยคาร์บอนของผลิตภัณฑ์ทางการเงิน เพื่อสนับสนุนในการตัดสินใจซื้อ-ขายของผู้ที่ต้องการลงทุน โดย AI จะวิเคราะห์ปริมาณ Carbon Footprint ที่เกิดขึ้นของแต่ละผลิตภัณฑ์ และแสดงผลผ่านแอปพลิเคชันให้ผู้ลงทุนเห็น ผู้ลงทุนที่ต้องการช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจะสามารถเลือกลงทุนในผลิตภัณฑ์ที่สร้าง Carbon Footprint น้อยได้ 🌱 คำนวณหลักประกันจากปริมาณการปล่อยคาร์บอน โดยในบางสถาบันการเงินเริ่มมีการใช้ AI...

Green AI EP. 3 🌵

ใน Green AI Ep.2 ราได้พูดถึงการใช้ AI เพื่อช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในระดับประเทศกันไปแล้ว โดยการประยุกต์ใช้ในระดับประเทศจะเน้นไปในแนวทางของการกำหนดนโยบาย การนำกลยุทธ์มาปรับใช้เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชนในประเทศ ครั้งนี้เราจะพูดถึงการใช้ Green AI ที่ใกล้ตัวเราเข้ามาอีกหน่อย นั่นคือการใช้ในภาคธุรกิจนั่นเอง ด้วยความสามารถในการวิเคราะห์ คาดการณ์ AI จึงถูกนำมาใช้เพื่อการแข่งขันในธุรกิจอย่างแพร่หลายตั้งแต่ธุรกิจที่เป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำไปจนถึงอุตสาหกรรมปลายน้ำ แต่นอกจากการแข่งขันแล้วในอุตสาหกรรม AI มีบทบาทในการช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างไรได้บ้างนะ? ในทุก ๆ อุตสาหกรรมนั้นมีการใช้พลังงานปริมาณมหาศาลเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจให้สามารถเดินหน้าไปได้ หลายอุตสาหกรรมจึงเริ่มมีการนำพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ พลังงานลม มาใช้ทดแทนพลังงานอื่น ๆ ซึ่งปัจจุบันพลังงานหมุนเวียนนั้นคิดเป็น 30% ของพลังงานที่ผลิตได้ทั่วโลก นอกจากการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้พลังงานหมุนเวียนแล้ว ในระบบสาธารณูปโภคด้านพลังงานยังสามารถช่วยลดผลกระทบจากการใช้พลังงานที่มากเกินไปได้ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบควบคุมพลังงานอีกด้วย ตัวอย่างการใช้ AI ในอุตสาหกรรม เช่น 🍀 การใช้ AI วิเคราะห์แนวโน้มการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ มุมของการเกิดเงาจากสิ่งก่อสร้างหรือต้นไม้ในแต่ละช่วงเวลา ทำให้ AI สามารถควบคุมมุมรับแสงของแผงโซลาร์เซลล์ให้หันไปในทิศทางที่เหมาะสม...