Merlin's Solutions International | DigitalTransformation
225
bp-legacy,archive,paged,tag,tag-digitaltransformation,tag-225,paged-2,tag-paged-2,ajax_fade,page_not_loaded,,qode-theme-ver-9.1.2,wpb-js-composer js-comp-ver-4.9.2,vc_responsive

DigitalTransformation Tag

Green AI EP. 2 🌿

🌷 ในสัปดาห์ที่ผ่านมาเราได้รู้จักกับตัวอย่างหนึ่งของเทคโนโลยีสีเขียวที่มีการนำปัญญาประดิษฐ์เข้ามาประยุกต์ใช้ หรือที่เรียกว่า Green AI ซึ่งนอกจาก AI จะไม่ใช่เรื่องไกลตัวสำหรับเราอีกต่อไปแล้วนั้น ยังมีการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมหรือชีวิตประจำวันได้อย่างหลากหลายอีกด้วย และไม่เพียงแค่ภาคอุตสาหกรรมเท่านั้น ภาครัฐก็สามารถนำเทคโนโลยี Green AI มาใช้ได้เช่นกัน สัปดาห์นี้เราจะนำตัวอย่างของ Green AI ที่รัฐบาลในประเทศต่าง ๆ นำมาประยุกต์ใช้เพื่อบริหารจัดการมาให้ทุกคนได้ดูกัน ในระดับประเทศนั้นมีการใช้ความสามารถของ AI ร่วมกับความสามารถของ IoT (Internet of Things) ด้วยการใช้เซ็นเซอร์ในการเป็นข้อมูลความหนาแน่นของประชากรในแต่ละพื้นที่และช่วงเวลา ซึ่งจะทำให้ทราบถึงข้อมูลการเติบโตของประชากร ข้อมูลกิจกรรมของมนุษย์ หรือภาพถ่ายจากดาวเทียมก็จะทำให้ทราบถึงข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ AI ประมวลผล คาดการณ์แนวโน้มต่าง ๆ และใช้ในการวางแผน กำหนด หรือปรับเปลี่ยนนโยบาย เช่น 🍁 ปรับเปลี่ยนนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างแม่นยำ โดยคาดการณ์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต โดยใช้การสร้างแบบจำลองของโลกที่เรียกว่า Digital Twin Earth...

DevOps Ep.2 💻

DevSecOps เป็นแนวคิดการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เป็นส่วนขยายมาจาก DevOps โดยเพิ่มเรื่องความปลอดภัยตั้งแต่ขั้นตอนของการพัฒนาเพื่อให้ไม่มีช่องโหว่ให้เกิดภัยคุกคามมาโจมตีได้ ซึ่งแนวคิดนี้ได้รับความสนใจมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากการพัฒนาซอฟต์แวร์มักพบปัญหาด้านความปลอดภัย การถูก Hack หรือถูกโจมตีอย่างต่อเนื่อง ทำให้จำเป็นต้องใช้วิธีการพัฒนาที่คำนึงถึงด้านความปลอดภัย ในบทความนี้เราจะมาเรียนรู้ถึงแนวคิดของ DevSecOps รวมถึงประโยชน์ที่องค์กรจะได้รับจากการใช้ DevSecOps ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ DevSecOps คืออะไร? DevSecOps คือ วิธีการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีการรวมการพัฒนาและการรักษาความปลอดภัยเข้าด้วยกันในกระบวนการเดียวกัน โดยใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อช่วยให้การพัฒนาซอฟต์แวร์มีความปลอดภัยและสามารถตรวจสอบความปลอดภัยได้โดยอัตโนมัติตลอดกระบวนการพัฒนา ซึ่งหมายความว่าการคำนึงถึงด้านความปลอดภัยไม่เป็นเพียงการตรวจสอบเฉพาะในขั้นตอนท้ายของการพัฒนาเท่านั้น แต่จะต้องรวมเข้ากับกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การวางแผน การออกแบบ การเขียน และการทดสอบ ไปจนถึงการดูแลระบบหลังการใช้งานจริงด้วย เพื่อให้มั่นใจได้ว่าระบบซอฟต์แวร์ขององค์กรมีความปลอดภัยอย่างเต็มที่ การใช้ DevSecOps ไม่ใช่การแก้ไขปัญหาอย่างเดียว แต่เป็นการตอบสนองต่อความต้องการขององค์กรในการพัฒนาและดูแลรักษาซอฟต์แวร์อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยในระยะยาว DevSecOps มีประโยชน์อย่างไร? การประยุกต์ใช้ DevSecOps สามารถเสริมสร้างความเชื่อมั่นและความเป็นมืออาชีพให้กับองค์กรในด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ได้หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่มีการประเมินความเสี่ยงของการโจมตีไซเบอร์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นเรามาทำความเข้าใจถึง 5 ประโยชน์หลักที่องค์กรจะได้รับจากการใช้ DevSecOps ในการพัฒนาซอฟต์แวร์  Improved security:...

ITIL 4 ep.2

เราทราบกันไปแล้วว่าองค์กรสามารถส่งมอบการบริการที่ดีได้ด้วยการนำแนวปฏิบัติที่ดี หรือ ITIL มาใช้ ซึ่งใน Ep. ที่ผ่านมา (https://www.merlinssolutions.com/2023/03/13/itil-4-ep1/) เราได้อธิบายถึง ITIL 4 ที่ Office for Government Commerce (OGC) ได้ทำการปรับปรุงจาก Version ก่อนหน้า โดยมีการปรับเปลี่ยนแนวคิดหลักจากเดิมที่ ITIL 3 จะกำหนดแนวปฏิบัติขึ้นจากกิจกรรมภายใต้วงจรชีวิตของการบริการด้าน IT แบ่งออกเป็น 5 ระยะ ได้แก่ กลยุทธ์การบริการ (Service Strategy) การออกแบบการบริการ (Service Design) การเปลี่ยนผ่านการบริการ (Service Transition) การดำเนินการการบริการ (Service Operation) การปรับปรุงการบริการอย่างต่อเนื่อง (Continual Service Improvement) แต่แนวคิดหลักของ ITIL 4...

DevOps Ep.1 💻

การพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและใช้เวลานาน โดยปกติแล้วจะมีทีมพัฒนาซอฟต์แวร์ (Development) และทีมปฏิบัติการ (Operations) ทำงานเป็นกลุ่ม ๆ แยกกัน ส่งผลให้มีการสื่อสารระหว่างทั้งสองทีมยากขึ้น ซึ่งทำให้กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ช้าลง และมีข้อผิดพลาดที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเรามักเรียกการทำงานแบบนี้ว่า Silo 💫 DevOps จึงได้ถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยการนำทีมพัฒนา (Dev) และทีมปฏิบัติการ (Ops) มารวมกันในการทำงาน และใช้เครื่องมือและระบบอัตโนมัติเพื่อส่งเสริมการสื่อสารและการทำงานร่วมกันระหว่างทั้งสองทีม ซึ่งจะช่วยลดเวลาในการพัฒนาซอฟต์แวร์ไปพร้อมกับเพิ่มความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้มากขึ้น โดยเครื่องมือที่จะเข้ามาช่วยในการทำงานให้เป็นไปโดยอัตโนมัติก็คือ CI/CD ซึ่งเป็นกระบวนการทำงานตั้งแต่การ Plan, Code, Build, Test, Release, Deploy, Operate และ Monitor โดยทำให้ทีมพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถส่งมอบซอฟต์แวร์ได้อย่างรวดเร็วและมีคุณภาพสูงขึ้น โดยประกอบไปด้วย Continuous Integration (CI) ซึ่งเป็นการอัปเดตและรวบรวมโค้ดที่ถูกส่งมาจากสมาชิกในทีมพัฒนาให้เป็นเวอร์ชันเดียวกัน และ Continuous Delivery (CD) หรือ...

ITIL 4 ep.1

ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของประชาชนมากขึ้น โดยเฉพาะในยุค COVID19 ที่สร้างชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ที่ทำให้ประชาชนลดการเดินทางด้วยทำงานจากที่บ้าน ปรับรูปแบบการซื้อ-ขายผ่านช่องทางออนไลน์ ส่งผลให้องค์กรภาครัฐ และภาคเอกชนต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการผ่านระบบออนไลน์ โดยสร้างแพลตฟอร์มบริการดิจิทัล (Digital Service Platform) เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงสินค้า และบริการได้ง่ายขึ้น เมื่อองค์กรสร้างบริการดิจิทัลที่หลากหลายเพื่อให้บริการ การสร้างประสบการณ์ที่ดีในการใช้บริการดิจิทัลก็จะสร้างให้เกิดความประทับใจแก่ผู้รับบริการ แล้วองค์กรจะมั่นใจได้อย่างไรว่าสามารถส่งมอบการบริการดิจิทัลที่ดีได้ แนวทางหนึ่งคือการนำแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) มาประยุกต์ใช้นั่นเอง      ITIL 4 คือ Best Practice หรือเรียกว่าแนวปฏิบัติที่ดีของการบริหารจัดการการบริการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่พัฒนาขึ้นโดย Office for Government Commerce (OGC) ร่วมกับ British Standard Institute (BSI) มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นการสร้างคุณค่าให้แก่ผู้รับบริการด้าน IT การลดความซ้ำซ้อน สร้างความรวดเร็ว...

Green AI 🌿

🍃ใน Topic ก่อน ๆ เราได้พูดถึง Green IT หรือเทคโนโลยีสีเขียวกันไปแล้ว เราจะได้เห็นว่า Green IT นั้นมีบทบาทสำคัญในการช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างมาก จนแทบจะกลายเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทุกองค์กรต้องนำมาใช้ในการดำเนินงาน รวมกับปัจจุบันเทคโนโลยีต่าง ๆ มีความก้าวหน้าไปมากก็ยิ่งเป็นส่วนส่งเสริมให้ Green IT มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) ซึ่งเป็นการเขียนอัลกอริทึมให้คอมพิวเตอร์มีความอัจฉริยะจนสามารถวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ ได้จากข้อมูลปริมาณมาก ๆ ได้ 🍃 ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 10 ปี เป็นช่วงที่แนวคิด AI เพิ่งเริ่มเกิดขึ้นใหม่ หลายต่างมองว่า AI จะเป็นจริงได้หรือไม่ หรือ AI จะมีประโยชน์มากน้อยแค่ไหน อีกทั้งมีความกังวลถึงโทษที่อาจจะตามมา จนมาถึงในปัจจุบันคำว่า AI ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวยิ่งขึ้น หลายองค์กรสามารถนำ...

งานสัมมนา Explainable AI (XAI)

 เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2565 บริษัท Merlin’s Solutions International เชิญชวน หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ผู้ประกอบการ ผู้ที่สนใจ เข้าร่วมสัมมนาออนไลน์ “Explainable AI” โดย ผศ.ดร.จิรพันธ์ แดงเดช CTO ของบริษัท เมอร์ลินส์ฯ เพื่อร่วมกันกำหนดทิศทางของการพัฒนาระบบ Explainable AI ในองค์กรอย่างยั่งยืน  มารวมกันหาคำตอบว่า Explainable AI คืออะไร แล้วเหตุใดธุรกิจส่วนใหญ่จึงให้ความสนใจและต้องการนำความสามารถนี้ โดยสามารถรับชมความสนุกย้อนหลังได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=v5L37eh-swQ&t=1740s ☎ สนใจข้อมูล/บริการเพิ่มเติมติดต่อ 022477229 ✉ e-Mail : sm@merlinssolutions.com ...

การกำกับดูแลสถาปัตยกรรมองค์กร (EA Governance) คืออะไร? และองค์กรได้ประโยชน์อะไรจากการทำ?

การกำกับดูแลสถาปัตยกรรมองค์กร (EA Governance) คืออะไร? และองค์กรได้ประโยชน์อะไรจากการทำ? โดยอาจารย์กำพล ศรธนะรัตน์ กรรมการ และประธานอนุกรรมการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)  ...

ประโยชน์ที่องค์กรจะได้รับจากการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กรในการขับเคลื่อนมุ่งสู่องค์กรดิจิทัล

ประโยชน์ที่องค์กรจะได้รับจากการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กร (EA) ในการขับเคลื่อนมุ่งสู่องค์กรดิจิทัล (Digital Transformation) โดยอาจารย์กำพล ศรธนะรัตน์ กรรมการ และประธานอนุกรรมการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ...

AI: The Series “Explainable AI” ภาพรวมของ Algorithms ต่าง ๆ ที่มีในปัจจุบันและประเด็นที่น่าสนใจ

"Explainable AI" ภาพรวมของ Algorithms ต่าง ๆ ที่มีในปัจจุบันและประเด็นที่น่าสนใจ 1. ทำไมถึงเอาทั้ง Explainability และ Accuracy ไม่ได้?             ปัจจุบันยังไม่มี ML Algorithm ไหนที่ให้ได้ทั้งความสามารถด้าน Explainability และ Accuracy ได้ในเวลาเดียวกัน เพราะเวลาที่เรา “อธิบาย”จะใช้สิ่งที่มองได้ว่าเป็น “Attribute” ในประโยค เช่น “ลูกค้าไม่ผ่านสินเชื่อเพราะรายได้เมื่อเทียบกับหนี้สินแล้วไม่ผ่านเกณฑ์” ในคำอธิบายนี้มี Attribute ที่น่าสนใจคือ “รายได้” และ “หนี้สิน” ซึ่ง ML ที่ใช้ข้อมูลที่มี attribute ที่คนเข้าใจได้ลักษณะนี้สามารถอธิบายได้ แต่ ML เช่น...