Merlin's Solutions International | บทความ
3
bp-legacy,archive,paged,category,category-articles,category-3,paged-2,category-paged-2,ajax_fade,page_not_loaded,,qode-theme-ver-9.1.2,wpb-js-composer js-comp-ver-4.9.2,vc_responsive

บทความ

SUPERAPP คืออะไร?

—-🌼—–🌼—–🌼—–🌼—–🌼—–🌼—–🌼—–🌼  สนใจข้อมูล/บริการเพิ่มเติมติดต่อ 022477229  e-Mail : sm@merlinssolutions.com   https://web.facebook.com/merlinssolutions/?_rdc=1&_rdr...

Green AI EP. 5 🚜

จากที่เราได้นำเสนอการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI เพื่อสิ่งแวดล้อมสีเขียวในอุตสาหกรรมต้นน้ำกันไปแล้วอย่างอุตสาหกรรมด้านพลังงาน และด้านการเงิน ครั้งนี้เราจะพาทุกคนเข้าสู่ภาคการเกษตรกันบ้าง โดย AI นั้นถูกนำมาใช้ในการแข่งขันด้านการผลิตเป็นระยะเวลานานแล้ว เพื่อให้เข้ากับประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศการเกษตร ครั้งนี้เราจะนำเสนอการใช้ AI เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในฝั่งเกษตรกรรมกันบ้าง ในภาคการเกษตรปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตคือสภาพแวดล้อม และสภาพอากาศ จึงมีการนำ AI มาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการเพิ่มผลผลิต หรือลดความเสียหายทางการเกษตร และไม่เพียงมีบทบาทแค่ช่วยรับมือกับสภาพอากาศเท่านั้น AI สามารถเข้ามาช่วยในด้านสิ่งแวดล้อมนี้ได้เช่นกัน โดยจากงานวิจัยของสหภาพยุโรประบุว่าการทำเกษตรกรรมนั้นมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนถึง 10% นอกจากนั้นยังพบการก่อมลพิษจากวัตถุดิบที่ใช้อีกด้วย ดังนั้นในหลายภาคการเกษตรจึงมีความคิดในการใช้ AI เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเช่นตัวอย่างต่อไปนี้ 🍍 ลดการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช ด้วยการใช้ AI ประมวลผลภาพที่ได้จาก Drone ในการระบุถึงตำแหน่งและรูปแบบการกระจายตัวของวัชพืช เพื่อจำกัดขอบเขตการใช้สารเคมีในการกำจัดได้อย่างแม่นยำ ส่งผลให้สามารถลดการใช้สารเคมีซึ่งเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมลงได้อย่างมากทีเดียว 🍍 ลดการปล่อยมลพิษที่เกิดจากการเพาะปลูกสู่สิ่งแวดล้อม โดยให้ AI วิเคราะห์จำนวนผลผลิตที่ต้องการ และคำนวณการใช้ปุ๋ยเคมีในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยลดการตกค้างของก๊าซไนโตรเจนในดินได้ 🍍 ลดการใช้พลังงานในการเพาะปลูกด้วยการคำนวณการใช้ปัจจัยการเพาะปลูกอย่างคุ้มค่า โดยการใช้ AI วิเคราะห์และคาดการณ์แนวโน้มของสภาพอากาศที่จะเกิดขึ้น เพื่อใช้พลังงานเฉพาะช่วงเวลาที่จำเป็น เช่น...

Green AI EP. 4 🌍

Green AI Ep. ที่ 4 นี้เราจะพูดถึงการใช้ AI ในธุรกิจด้านการเงินกันบ้าง เมื่อนึกถึงการเงินนั้นธุรกิจที่เราคุ้นเคยกันมากที่สุดคงไม่พ้นธุรกิจธนาคาร ซึ่งหลายคนคงทราบแล้วว่าธุรกิจธนาคารมีการใช้ AI ในหลายด้าน เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลการลงทุน หรือการตรวจสอบธุรกรรมผิดปกติ แต่เมื่อพูดถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมคำถามที่ตามมาคือในองค์กรด้านการเงินการธนาคารสามารถช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ทางไหนบ้าง และจะสามารถใช้ AI เข้ามาช่วยเสริมได้อย่างไร เนื่องจากผลิตภัณฑ์ทางการเงินนั้นมีกระบวนการ หรือการประมวลข้อมูลซึ่งก่อให้เกิดการปล่อยคาร์บอนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในธุรกิจด้านการเงินจึงมีแนวคิดการใช้ AI สำหรับอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยเน้นไปที่การปรับใช้และสนับสนุนโครงการที่มีผลกระทบเชิงบวกในระยะยาวต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อชดเชยการปล่อยคาร์บอน และส่งเสริมให้ผู้ผลิตรายต่าง ๆ หาวิธีการลดการปล่อยคาร์บอนจากผลิตภัณฑ์ของตัวเอง ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น 🌱 การใช้ AI วิเคราะห์และแสดงข้อมูลการปล่อยคาร์บอนของผลิตภัณฑ์ทางการเงิน เพื่อสนับสนุนในการตัดสินใจซื้อ-ขายของผู้ที่ต้องการลงทุน โดย AI จะวิเคราะห์ปริมาณ Carbon Footprint ที่เกิดขึ้นของแต่ละผลิตภัณฑ์ และแสดงผลผ่านแอปพลิเคชันให้ผู้ลงทุนเห็น ผู้ลงทุนที่ต้องการช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจะสามารถเลือกลงทุนในผลิตภัณฑ์ที่สร้าง Carbon Footprint น้อยได้ 🌱 คำนวณหลักประกันจากปริมาณการปล่อยคาร์บอน โดยในบางสถาบันการเงินเริ่มมีการใช้ AI...

Data Governance EP.1 🏬

หลาย ๆ คนคงเคยได้ยินคำว่า “กรอบการกำกับดูแลองค์กร” กันมาบ้างแล้ว โดยกรอบการกำกับดูแลองค์กรมีไว้เพื่อเป็นแนวทางในการติดตาม กำกับ ควบคุม และดูแล ซึ่งจะช่วยเสริมให้องค์กรสามารถเพิ่มระดับการแข่งขัน มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และมีการดำเนินงานที่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล กรอบการกำกับดูแลองค์กรนั้นมีอยู่หลากหลาย เช่น กรอบการกำกับดูแลด้านความเสี่ยง กรอบการกำกับดูแลด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ กรอบการกำกับดูแลด้านสถาปัตยกรรมองค์กร ในวันนี้เราจะมาพูดถึง “กรอบการกำกับดูแลข้อมูล” ซึ่งปัจจุบันภาครัฐกำลังให้ความสำคัญกับการนำข้อมูลมาใช้และความปลอดภัยของข้อมูล ดังนั้นองค์กรจึงจำเป็นต้องมีมาตรการและแนวปฏิบัติในการบริหารจัดการและกำกับดูแลข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล กรอบการกำกับดูแลข้อมูล เป็นแนวทางให้องค์กรสามารถดำเนินการในการกำกับดูแลข้อมูล รวมถึงติดตามการบริหารจัดการข้อมูลให้มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพความมั่นคงปลอดภัย และบูรณาการข้อมูลอย่างครบถ้วน ถูกต้อง และข้อมูลเป็นปัจจุบัน ซึ่งการกำกับดูแลข้อมูลที่มีประสิทธิภาพนั้นองค์กรจะต้องมีการจัดทำองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบ ดังนี้ 🔹 โครงสร้างการกำกับดูแล (Data Governance Structure) เพื่อเป็นผู้ขับเคลื่อนการกำกับดูแล 🔹 นิยามและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล (Definition and Rules) เพื่อใช้เป็นข้อตกลงร่วมกัน 🔹 กระบวนการกำกับดูแลข้อมูล (Data Governance Process) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ ทั่วไปนั้นกรอบการกำกับดูแลก็จะมีการวัดระดับวุฒิภาวะ...

Green AI EP. 3 🌵

ใน Green AI Ep.2 ราได้พูดถึงการใช้ AI เพื่อช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในระดับประเทศกันไปแล้ว โดยการประยุกต์ใช้ในระดับประเทศจะเน้นไปในแนวทางของการกำหนดนโยบาย การนำกลยุทธ์มาปรับใช้เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชนในประเทศ ครั้งนี้เราจะพูดถึงการใช้ Green AI ที่ใกล้ตัวเราเข้ามาอีกหน่อย นั่นคือการใช้ในภาคธุรกิจนั่นเอง ด้วยความสามารถในการวิเคราะห์ คาดการณ์ AI จึงถูกนำมาใช้เพื่อการแข่งขันในธุรกิจอย่างแพร่หลายตั้งแต่ธุรกิจที่เป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำไปจนถึงอุตสาหกรรมปลายน้ำ แต่นอกจากการแข่งขันแล้วในอุตสาหกรรม AI มีบทบาทในการช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างไรได้บ้างนะ? ในทุก ๆ อุตสาหกรรมนั้นมีการใช้พลังงานปริมาณมหาศาลเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจให้สามารถเดินหน้าไปได้ หลายอุตสาหกรรมจึงเริ่มมีการนำพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ พลังงานลม มาใช้ทดแทนพลังงานอื่น ๆ ซึ่งปัจจุบันพลังงานหมุนเวียนนั้นคิดเป็น 30% ของพลังงานที่ผลิตได้ทั่วโลก นอกจากการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้พลังงานหมุนเวียนแล้ว ในระบบสาธารณูปโภคด้านพลังงานยังสามารถช่วยลดผลกระทบจากการใช้พลังงานที่มากเกินไปได้ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบควบคุมพลังงานอีกด้วย ตัวอย่างการใช้ AI ในอุตสาหกรรม เช่น 🍀 การใช้ AI วิเคราะห์แนวโน้มการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ มุมของการเกิดเงาจากสิ่งก่อสร้างหรือต้นไม้ในแต่ละช่วงเวลา ทำให้ AI สามารถควบคุมมุมรับแสงของแผงโซลาร์เซลล์ให้หันไปในทิศทางที่เหมาะสม...

Green AI EP. 2 🌿

🌷 ในสัปดาห์ที่ผ่านมาเราได้รู้จักกับตัวอย่างหนึ่งของเทคโนโลยีสีเขียวที่มีการนำปัญญาประดิษฐ์เข้ามาประยุกต์ใช้ หรือที่เรียกว่า Green AI ซึ่งนอกจาก AI จะไม่ใช่เรื่องไกลตัวสำหรับเราอีกต่อไปแล้วนั้น ยังมีการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมหรือชีวิตประจำวันได้อย่างหลากหลายอีกด้วย และไม่เพียงแค่ภาคอุตสาหกรรมเท่านั้น ภาครัฐก็สามารถนำเทคโนโลยี Green AI มาใช้ได้เช่นกัน สัปดาห์นี้เราจะนำตัวอย่างของ Green AI ที่รัฐบาลในประเทศต่าง ๆ นำมาประยุกต์ใช้เพื่อบริหารจัดการมาให้ทุกคนได้ดูกัน ในระดับประเทศนั้นมีการใช้ความสามารถของ AI ร่วมกับความสามารถของ IoT (Internet of Things) ด้วยการใช้เซ็นเซอร์ในการเป็นข้อมูลความหนาแน่นของประชากรในแต่ละพื้นที่และช่วงเวลา ซึ่งจะทำให้ทราบถึงข้อมูลการเติบโตของประชากร ข้อมูลกิจกรรมของมนุษย์ หรือภาพถ่ายจากดาวเทียมก็จะทำให้ทราบถึงข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ AI ประมวลผล คาดการณ์แนวโน้มต่าง ๆ และใช้ในการวางแผน กำหนด หรือปรับเปลี่ยนนโยบาย เช่น 🍁 ปรับเปลี่ยนนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างแม่นยำ โดยคาดการณ์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต โดยใช้การสร้างแบบจำลองของโลกที่เรียกว่า Digital Twin Earth...

DevOps Ep.2 💻

DevSecOps เป็นแนวคิดการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เป็นส่วนขยายมาจาก DevOps โดยเพิ่มเรื่องความปลอดภัยตั้งแต่ขั้นตอนของการพัฒนาเพื่อให้ไม่มีช่องโหว่ให้เกิดภัยคุกคามมาโจมตีได้ ซึ่งแนวคิดนี้ได้รับความสนใจมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากการพัฒนาซอฟต์แวร์มักพบปัญหาด้านความปลอดภัย การถูก Hack หรือถูกโจมตีอย่างต่อเนื่อง ทำให้จำเป็นต้องใช้วิธีการพัฒนาที่คำนึงถึงด้านความปลอดภัย ในบทความนี้เราจะมาเรียนรู้ถึงแนวคิดของ DevSecOps รวมถึงประโยชน์ที่องค์กรจะได้รับจากการใช้ DevSecOps ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ DevSecOps คืออะไร? DevSecOps คือ วิธีการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีการรวมการพัฒนาและการรักษาความปลอดภัยเข้าด้วยกันในกระบวนการเดียวกัน โดยใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อช่วยให้การพัฒนาซอฟต์แวร์มีความปลอดภัยและสามารถตรวจสอบความปลอดภัยได้โดยอัตโนมัติตลอดกระบวนการพัฒนา ซึ่งหมายความว่าการคำนึงถึงด้านความปลอดภัยไม่เป็นเพียงการตรวจสอบเฉพาะในขั้นตอนท้ายของการพัฒนาเท่านั้น แต่จะต้องรวมเข้ากับกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การวางแผน การออกแบบ การเขียน และการทดสอบ ไปจนถึงการดูแลระบบหลังการใช้งานจริงด้วย เพื่อให้มั่นใจได้ว่าระบบซอฟต์แวร์ขององค์กรมีความปลอดภัยอย่างเต็มที่ การใช้ DevSecOps ไม่ใช่การแก้ไขปัญหาอย่างเดียว แต่เป็นการตอบสนองต่อความต้องการขององค์กรในการพัฒนาและดูแลรักษาซอฟต์แวร์อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยในระยะยาว DevSecOps มีประโยชน์อย่างไร? การประยุกต์ใช้ DevSecOps สามารถเสริมสร้างความเชื่อมั่นและความเป็นมืออาชีพให้กับองค์กรในด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ได้หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่มีการประเมินความเสี่ยงของการโจมตีไซเบอร์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นเรามาทำความเข้าใจถึง 5 ประโยชน์หลักที่องค์กรจะได้รับจากการใช้ DevSecOps ในการพัฒนาซอฟต์แวร์  Improved security:...

ITIL 4 ep.2

เราทราบกันไปแล้วว่าองค์กรสามารถส่งมอบการบริการที่ดีได้ด้วยการนำแนวปฏิบัติที่ดี หรือ ITIL มาใช้ ซึ่งใน Ep. ที่ผ่านมา (https://www.merlinssolutions.com/2023/03/13/itil-4-ep1/) เราได้อธิบายถึง ITIL 4 ที่ Office for Government Commerce (OGC) ได้ทำการปรับปรุงจาก Version ก่อนหน้า โดยมีการปรับเปลี่ยนแนวคิดหลักจากเดิมที่ ITIL 3 จะกำหนดแนวปฏิบัติขึ้นจากกิจกรรมภายใต้วงจรชีวิตของการบริการด้าน IT แบ่งออกเป็น 5 ระยะ ได้แก่ กลยุทธ์การบริการ (Service Strategy) การออกแบบการบริการ (Service Design) การเปลี่ยนผ่านการบริการ (Service Transition) การดำเนินการการบริการ (Service Operation) การปรับปรุงการบริการอย่างต่อเนื่อง (Continual Service Improvement) แต่แนวคิดหลักของ ITIL 4...

DevOps Ep.1 💻

การพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและใช้เวลานาน โดยปกติแล้วจะมีทีมพัฒนาซอฟต์แวร์ (Development) และทีมปฏิบัติการ (Operations) ทำงานเป็นกลุ่ม ๆ แยกกัน ส่งผลให้มีการสื่อสารระหว่างทั้งสองทีมยากขึ้น ซึ่งทำให้กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ช้าลง และมีข้อผิดพลาดที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเรามักเรียกการทำงานแบบนี้ว่า Silo 💫 DevOps จึงได้ถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยการนำทีมพัฒนา (Dev) และทีมปฏิบัติการ (Ops) มารวมกันในการทำงาน และใช้เครื่องมือและระบบอัตโนมัติเพื่อส่งเสริมการสื่อสารและการทำงานร่วมกันระหว่างทั้งสองทีม ซึ่งจะช่วยลดเวลาในการพัฒนาซอฟต์แวร์ไปพร้อมกับเพิ่มความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้มากขึ้น โดยเครื่องมือที่จะเข้ามาช่วยในการทำงานให้เป็นไปโดยอัตโนมัติก็คือ CI/CD ซึ่งเป็นกระบวนการทำงานตั้งแต่การ Plan, Code, Build, Test, Release, Deploy, Operate และ Monitor โดยทำให้ทีมพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถส่งมอบซอฟต์แวร์ได้อย่างรวดเร็วและมีคุณภาพสูงขึ้น โดยประกอบไปด้วย Continuous Integration (CI) ซึ่งเป็นการอัปเดตและรวบรวมโค้ดที่ถูกส่งมาจากสมาชิกในทีมพัฒนาให้เป็นเวอร์ชันเดียวกัน และ Continuous Delivery (CD) หรือ...

ITIL 4 ep.1

ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของประชาชนมากขึ้น โดยเฉพาะในยุค COVID19 ที่สร้างชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ที่ทำให้ประชาชนลดการเดินทางด้วยทำงานจากที่บ้าน ปรับรูปแบบการซื้อ-ขายผ่านช่องทางออนไลน์ ส่งผลให้องค์กรภาครัฐ และภาคเอกชนต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการผ่านระบบออนไลน์ โดยสร้างแพลตฟอร์มบริการดิจิทัล (Digital Service Platform) เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงสินค้า และบริการได้ง่ายขึ้น เมื่อองค์กรสร้างบริการดิจิทัลที่หลากหลายเพื่อให้บริการ การสร้างประสบการณ์ที่ดีในการใช้บริการดิจิทัลก็จะสร้างให้เกิดความประทับใจแก่ผู้รับบริการ แล้วองค์กรจะมั่นใจได้อย่างไรว่าสามารถส่งมอบการบริการดิจิทัลที่ดีได้ แนวทางหนึ่งคือการนำแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) มาประยุกต์ใช้นั่นเอง      ITIL 4 คือ Best Practice หรือเรียกว่าแนวปฏิบัติที่ดีของการบริหารจัดการการบริการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่พัฒนาขึ้นโดย Office for Government Commerce (OGC) ร่วมกับ British Standard Institute (BSI) มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นการสร้างคุณค่าให้แก่ผู้รับบริการด้าน IT การลดความซ้ำซ้อน สร้างความรวดเร็ว...